วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Assignment #3

การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัย




1 ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ไม่บอกชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ โดยเฉพาะเบอร์โทรศัพท์บ้าน เพราะผู้ร้ายสามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์บ้านเพื่อโทรสอบถามที่อยู่ของเจ้าของบ้านได้จากบริการ 1133 ซึ่งเป็นบริการมาตรฐาน โจรผู้ร้ายและพวกจิตวิปริตอาจมาดักทำร้ายคุณได้ เวลาแช็ตก็ให้ใช้ชื่อเล่นหรือชื่อสมมุติแทน


2 ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ ให้กับผู้อื่น แม้แต่เพื่อน เพราะเพื่อนเองก็อาจถูกหลอกให้มาถามจากเราอีกต่อหนึ่ง


3 ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ


4 ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆ คน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ



5 ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขาย เช่นดูประวัติ ดูการให้คอมเมนท์ Comment จากผู้ซื้อรายก่อนๆ ที่เข้ามาเขียนไว้ พิจารณาวิธีการจ่ายเงิน ฯลฯ และต้องไม่บอกรหัสบัตรเครดิต และเลขท้าย3หลักที่อยู่ด้านหลังบัตรให้แก่ผู้ขาย หรือใครๆ โดยเด็ดขาด เพราะเป็นรหัสสำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต คุณอาจถูกยักยอกเงินจากบัตรเครดิตจนเต็มวงเงินที่คุณมี แล้วมารู้ตัวอีกทีก็มีหนี้บานมหาศาล นอกจากนี้คุณผู้ปกครองก็ไม่ควรวางกระเป๋าเงินที่ใส่บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ ให้เด็กหยิบง่ายๆ เพราะคำโฆษณาล่อหลอกทางเน็ต อาจทำให้เด็กอยากซื้อสินค้าที่ไม่เหมาะสมบางอย่าง แล้วอาจมาเปิดดูรหัสบัตร เพื่อไปซื้อสินค้าออนไลน์ได้


6 สอนให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Internet Bullying)เช่น ได้รับอีเมล์หยาบคาย การข่มขู่จากเพื่อน การส่งต่ออีเมล์ข้อความใส่ร้ายป้ายสีรุนแรง หรือถูกนำรูปถ่ายไปตัดต่อเข้ากับภาพโป๊แล้วส่งไปให้เพื่อนทุกคนดู ถูกแอบถ่ายขณะทำภารกิจส่วนตัว เป็นต้น ให้เด็กบอกพ่อแม่ ถ้าเป็นการกลั่นแกล้งในหมู่เพื่อน พ่อแม่ควรแจ้งคุณครูหรือทางโรงเรียนและผู้ปกครองของเด็กคู่กรณีให้รับทราบพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของเพื่อนนักเรียน เพราะการกลั่นแกล้งด้วยความรู้เท่าไม่ถึง การณ์แบบนี้ อาจทำให้เด็กที่ถูกแกล้งเสียสุขภาพจิต ไม่อยากไปโรงเรียน และมีปัญหาการเรียนได้ ซึ่งพ่อแม่เองก็ควรจะสังเกตอาการลูกๆ ด้วยว่าซึมเศร้าผิดปกติหรือเปล่า และควรพูดคุยกันอย่างเปิดเผย ส่วนการกลั่นแกล้ง แบล็คเมล์ในกรณีรุนแรงควรแจ้งตำรวจเพื่อเอาโทษกับผู้กระทำผิด


7 ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ
การใช้คอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน ที่อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ที่บ้านคนอื่นต้องระวังเวลาใส่ชื่อยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดในการ ล็อคอิน เข้าไปในเว็บไซท์ หรือเปิดใช้โปรแกรมต่างๆ เช่น เปิดเช็คอีเมล เปิดใช้โปรแกรมสนทนาMSN เปิดดูข้อมูลทางการเงินส่วนตัวผ่านเว็บไซท์ธนาคารที่ให้บริการออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล็อคอินเข้าไปยังเว็บไซท์ เพื่อชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต จะต้องไม่เผลอไป ติ๊กถูกที่หน้ากล่องข้อความที่มีความหมายประมาณว่า “ให้บันทึก ชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ดของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์นี้” อย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่มาใช้เครื่องต่อจากคุณ สามารถล็อคอินเข้าไป จากชื่อของคุณที่ถูกบันทึกไว้ แล้วสวมรอยเป็นคุณ หรือแม้แต่โอนเงินในบัญชีของคุณจ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ ที่เขาต้องการ ผลก็คือคุณอาจหมดตัวและล้มละลายได้


8 การใช้โปรแกรม MSN อย่างปลอดภัย
ถ้าเจอเพื่อนทางเน็ตที่พูดจาข่มขู่ หยาบคาย ชวนคุยเรื่องเซ็กซ์ พยายามชวนออกไปข้างนอก ให้เลิกคุย และควรบอกพ่อแม่ด้วย รวมทั้งสกัดกั้น Block ชื่อของเพื่อนคนนั้นๆ ไม่ให้เข้ามาคุยกับเรา/ลูกของเรา หรือไม่ให้ส่งอีเมล์มาหาเราได้อีก นอกจากนี้คุณยังสามารถตั้งค่าการใช้งานโปรแกรมสนทนาให้เป็นแบบ Private ได้ เช่น ในโปรแกรมสนทนายอดนิยมอย่าง MSN Messenger สามารถตั้งค่าให้เพื่อนใหม่ที่อยากจะเข้ามาคุยกับคุณ ต้องขออนุญาติก่อน เมื่อคุณตอบตกลง เขาจึงส่งข้อความมาคุยโต้ตอบกับคุณได้ ซึ่งถ้าไม่ได้ตั้งค่าเอาไว้ ใครๆ ก็สามารถส่งข้อความมาถึงคุณได้ ซึ่งถ้าผู้ใช้เป็นเด็ก อาจได้รับข้อความถามขนาดอวัยวะ ข้อความชวนไปมีเซ็กซ์พร้อมบรรยายสรรพคุณต่างๆ ข้อความเสนอขายเซ็กซ์ทอย ฯลฯโผล่ขึ้นมาได้ ซึ่งคงไม่ดีแน่ ดังนั้นการตั้งค่า Privacy จึงเป็นการ สกรีนผู้ใช้ และป้องกันไม่ให้คุณหรือเด็ก ได้รับข้อความลามก ข้อความเชิญชวนแปลกๆ จากผู้ใช้ที่เราไม่รู้จักและไม่อยากจะคุยด้วย นอกจากนี้ ไม่ควรใส่ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ในข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ ถ้าเคยใส่ไว้ ให้ลบออกให้หมด ถึงแม้ว่าคุณจะใช้โปรแกรมสนทนาอื่นๆ เช่น ICQ หรือแช็ตรูมตามเว็บไซท์วัยรุ่นอื่นๆ ก็ขอให้ยึดหลักปฏิบัติเดียวกันนี้ เพื่อความปลอดภัย



9 ระวังการใช้กล้องเว็บแคม
ขณะที่เราใช้โปรแกรมสนทนา เช่น MSN เราสามารถใช้กล้องเว็บแคมเพื่อให้คู่สนทนาเห็นภาพวีดีโอสดของเราได้ ถ้าเขาเองก็มีกล้องเว็บแคมเช่นกัน เราก็จะเห็นหน้าของเขาด้วย ยิ่งถ้ามีไมโครโฟนเสียบต่อกับคอม ก็จะสามารถพูดคุยออนไลน์แบบเห็นภาพและเสียงได้เลย ประหยัดและใช้ดีกว่าโทรศัพท์โดยเฉพาะเวลาคุยกับคนที่อยู่ต่างประเทศ แต่ผู้ใช้จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเท่านั้น จึงจะส่งผ่านภาพ และเสียงได้ทัน ที่น่าเป็นห่วงก็คือ การใช้แช็ตกับเพื่อนใหม่ ที่เพิ่งรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต เขาสามารถบันทึกภาพของเราขณะพูดคุยกับเขา เพื่อเอาไปใช้ในทางไม่ดีๆ ได้ เช่น เอาไปตัดต่อ แล้วขาย นอกจากนี้ ถ้าผู้ใช้เป็นเด็ก อาจถูกมิจฉาชีพออนไลน์ พยายามขอให้เด็กเปิดเว็บแคม เพื่อจะได้เห็นภาพ/เสียง ของเด็กชัดๆ หลอกให้เด็กเอากล้องเว็บแคม หันไปยังทิศต่างๆ ของบ้าน เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดบ้าน เตรียมการลักพาตัว หรือ โจรกรรมได้ ดังนั้น การติดตั้งอุปกรณ์เสริม อย่างกล้อง และไมค์ นี้ผู้ปกครองควรพิจารณาให้ดี ว่าสมควรหรือไม่ เด็กโตพอที่จะระมัดระวังป้องกันตัว และไม่หลงเชื่อพวกล่อลวงออนไลน์แล้วหรือยัง นอกจากนี้การติดกล้องเว็บแคมที่ต่อติดอยู่กับเครื่องคอมตลอดเวลา เพราะระหว่างที่คุณไม่ได้อยู่หน้าเครื่องคอมฯ แต่ต่ออินเทอร์เน็ตทิ้งไว้ นักแคร็กมืออาชีพ พวกมิจฉาชีพไฮเทค สามารถล็อคเข้ามาในเครื่องของคุณ และสั่งเปิดกล้องเว็บแคมของคุณ เพื่อแอบบันทึกภาพบ้านของคุณ ประตู หน้าต่าง ทางเข้าออก เพื่อเตรียมการโจรกรรม หรือแอบถ่ายอิริยาบถของคุณตอนที่ไม่รู้ตัว แล้วเอาไปขายเป็นวีซีดีประเภทแอบถ่ายทั้งหลาย เรื่องแบบนี้ เกิดขึ้นจริงในต่างประเทศ อาจเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย แต่คงยังไม่รู้ตัวกัน ดังนันให้ถอดกล้องเว็บแคมออกทุกครั้งที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ และถ้าไม่มีความจำเป็น ก็ไม่ต้องต่ออินเทอร์เน็ตทิ้งเอาไว้ถึงจะใช้บรอดแบรนด์(ไฮสปีด)อินเทอร์เน็ตก็ตาม








10 ไม่ควรบันทึกภาพวิดีโอ หรือเสียงที่ไมเหมาะสมบนคอมพิวเตอร์ หรือบนมือถือ
เพราะภาพ เสียง หรือวีดีโอนั้นๆ รั่วไหลได้ เช่นจากการแคร็ก ข้อมูล หรือถูกดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม เพียร์ ทู เพียร์ (P2P) และถึงแม้ว่าคุณจะลบไฟล์นั้นออกไปจากเครื่องแล้ว ส่วนใดส่วนหนึ่งของไฟล์ยังตกค้างอยู่ แล้วอาจถูกกู้กลับขึ้นมาได้ โดยช่างคอม ช่างมือถือ


ที่มา
http://safenet.wetpaint.com







เปรียบเทียบ Social Media และ Traditional Media


 Social Media มันคืออะไร?


   ทุกวันนี้ พวกเราหลายคนใช้ชีวิตอยู่กับ Social Network และ Social Media มากขึ้นทุกวัน แต่พอพูดถึง ‘Social Media’ ว่าคืออะไร หลายคนที่ใช้อยู่ ก็ยังถึงกับอึ้ง และตอบไม่ได้ว่ามันคืออะไร และไม่รู้จะอธิบายอย่างไร วันนี้ Marketing Oops! เลยขอทำหน้าที่อธิบายคำๆ นี้แทน เพื่อให้คนที่ใช้เป็นประจำอยู่แล้วสามารถอธิบายต่อให้คนอื่นทราบได้ และสำหรับคนที่ยังไม่เคยรู้ ก็สามารถทำความรู้จักได้เช่นกัน






Social ในที่นี้หมายถึง สังคมออนไลน์
Media ในที่นี้หมายถึง เนื้อหา เรื่องราว และบทความ
Social Media จึงหมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือเท่านั้น
เนื้อหาของ Social Media โดยทั่วไปเปรียบได้หลายรูปแบบ ทั้ง กระดานความคิดเห็น (Discussion boards), เว็บบล็อค (Weblogs), วิกิ (wikis), Podcasts, รูปภาพ และวิดีโอ ส่วนเทคโนโลยีที่รองรับเนื้อหาเหล่านี้ก็รวมถึง เว็บบล็อค (Weblogs), เว็บไซต์แชร์รูปภาพ, เว็บไซต์แชร์วิดีโอ, เว็บบอร์ด, อีเมล์, เว็บไซต์แชร์เพลง, Instant Messaging, Tool ที่ให้บริการ Voice over IP เป็นต้น



เว็บไซต์ ที่ให้บริการ Social Network หรือ Social Media

Google Group – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking


MySpace – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking



Facebook -เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking



Last.fm – เว็บเพลงส่วนตัว Personal Music


YouTube – เว็บไซต์ Social Networking และ แชร์วิดีโอ


Wikipedia – เว็บไซต์ในรูปแบบข้อมูลอ้างอิง



MouthShut – เว็บไซต์ในรูปแบบ Product Reviews


Traditional Media มันคืออะไร?

    สื่อจำพวกโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ โดยเป็นการสื่อสารทางเดียว (one-way communication) กล่าวคือ ผู้รับสารไม่สามารถที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ความรู้ของตน และความทันสมัยยังล่าช้าเมื่อเทียบกับ “Social Media” ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้สื่อประเภทนี้ได้รับความนิยมลดลงในปัจจุบัน




การเปรียบเทียบ Social Media และ Traditional Media...









Weblog มีประโยชน์อย่างไรกับแวดวงธุรกิจในปัจจุบัน

Weblog เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำว่า weblog หรือ web log โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (www) และ log (บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ ขณะนี้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย

ปัจจุบันนี้ บริษัทชั้นนำต่างๆ ของโลก ได้หันมาจับตามอง Blog ซึ่งเป็นรูปแบบของการ Marketing แบบใหม่ เนื่องจาก Blogger จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้อ่าน Blog สูงมาก เนื่องจากทั้งสองสามารถโต้ตอบกันได้โดยตรง
การที่ใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็น Buzz Marketing บางบริษัทอาจเลือกเจ้าของ Blog ให้เป็น presenter ให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง เช่นเสนอสินค้า ให้เจ้าของ Blog นำไปเขียนวิจารณ์หรือเขียนถึงใน Blog ของตน เป็นต้น
บางบริษัทใช้ Blog เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร หรือ PR ข่าวสารขององค์กร โดยการใช้ Blog เพื่อประกาศข่าวสารนั้น จะดูมีความเป็นกันเองและเข้าถึงลูกค้าได้อย่างเป็นมิตร เพราะเนื่องจากลูกค้าสามารถกาก comment หรือสื่อสารกับเจ้าของ Blog ได้ทันที ทำให้บริษัทเอง จะได้ประโยชน์จากคำแนะนำที่ตรงไปตรงมาของลูกค้าอีกด้วย บริษัทชั้นนำต่างเลือกที่จะใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดกันแล้ว โดยบางแห่งใช้ทั้ง Blog อย่างเป็นทางการของบริษัท แถมยังเปิดให้พนักงานได้เขียน Blog ของตนเองอีกด้วย โดยวิธีการนี้นับเป็นการทำการตลาดโดยการสร้างการรับรู้ตราสินค้า (Brand) โดยทางอ้อมอีกด้วย
นอกเหนือจากองค์กรธุรกิจแล้ว บุคคลที่ทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม สามารถใช้ Blog เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงาน หรือขายสินค้าของตนได้อีกด้วยเช่น ช่างภาพ, ศิลปิน, นักออกแบบ, นักเขียน, นักวาดการ์ตูน, ร้านค้า, ฯลฯ







Google Apps







     Google Apps เป็น Solution การจัดการข้อมูลทุกชนิดสำหรับ บริษัท, องค์กร, ธุรกิจ, กลุ่ม, ชมรม ของท่าน เพื่อให้ “ข้อมูล” ต่างๆ สามารถ “เข้าถึงได้ง่าย” (Accessible) และ “คงทนถาวร” (Durability) มากที่สุด ซึ่งภายใน Google Apps นั้น ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่างๆ ภายในดังนี้
  • Google Mail: จัดเก็บ รับ-ส่ง จดหมาย (E-mail) สำหรับองค์กรของท่าน สามารถใช้ Domain ของบริษัทท่านเป็น E-mail ได้ และปลอดภัยจากอีเมลล์ขยะ (Spam Filter)
  • Google Calendar: แบ่งปัน นัดหมายส่วนตัวของคนในองค์กร และใช้เป็นปฏิทินกลาง สำหรับแจ้งข้อมูลการเข้าประชุม, กำหนดการส่งของ และอื่นๆ ได้อย่างสร้างสรร
  • Google Docs: แชร์เอกสารทั้ง Word, Excel และ PPT เพื่อให้พนักงานในองค์กรสามารถ อ่านข้อมูล หรือแก้ไข ได้พร้อมๆ กัน แบบ Real-time
  • Google Sites: เว็บเพจกลางสำหรับใช้ภายในบริษัท (Intranet) เพื่อส่งข่าว หรือประกาศสำคัญๆ ต่างๆ หรือ ฐานข้อมูลความรู้ (Knowledge Base) เพื่อให้พนักงานเข้าถึงได้


ประโยชน์ของ Google Apps

       มีความสามารถในการทำงานร่วมกับโปรแกรมต่างๆได้อย่างลงตัว เช่นการใช้งาน Gmail ร่วมกับ Google Docs หรือ Google Calendar นอกจากนั้นผู้ใช้งานยังสามารถใช้เครื่องมือต่างๆได้อย่างเต็มที่และยังมีฟังก์ชัน API (Application Programming Interface) ให้เราสร้างโปรแกรมเพื่อใช้ติดต่อกับ Google Apps ได้อีกด้วย

การใช้งาน Google Apps



Gmail
  • เพื่อรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้า
  • เพื่อใช้ข้อมูลย้อนหลังจากการสนทนา ฝากข้อความ หรือ voice mail จากโปรแกรม google talk
หมายเหตุ : บริการนี้ต้อง sign in เข้า gmail.com หรือ domain ที่องค์กรเตรียมไว้ให้




Google Talk
  • เพื่อรับส่งข้อมูลแบบ real time ที่สื่อสารได้ทั้งข้อความ และเสียง รวมถึงการรับส่งแฟ้มข้อมูล
  • เพื่อแสดงสถานะการใช้งาน ณ ปัจจุบัน แสดงสถานะอีเมล และติดต่อสื่อสารได้ทันที
หมายเหตุ : บริการนี้ต้องติดตั้งโปรแกรม จึงจะใช้งานได้อย่างสะดวก
Google Documents  



  • เพื่อใช้งานโปรแกรมจัดการเอกสารแบบออนไลน์ โดยไม่ต้องซื้อหา และใช้งานได้จากทุกที่
  • เพื่อใช้งานเอกสารร่วมกันกับเพื่อนร่วมงาน เช่นการแก้ไขเอกสารร่วมกัน หรือ presentation ผ่าน Lan ในห้องปฏิบัติการ
หมายเหตุ : ระบบนี้ไม่เปิดให้คนทั่วไป เปิดให้เฉพาะเพื่อนในกลุ่มเท่านั้น
Google Calendar 





  • เพื่อนำเสนอ หรือบันทึกกิจกรรม แผนงานที่จะทำในแต่ละวัน
  • เพื่อใช้แสดงกิจกรรมร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ทำให้สะดวกในการตรวจสอบนัดหมาย

Sites



  • เพื่อการนำเสนอเว็บเพจที่ใช้งานได้ง่าย นำเสนอแฟ้มข้อมูลประกอบเว็บเพจ
  • เพื่อการจัดทำระบบเก็บเอกสารที่เป็นระบบ และใช้งานร่วมกับเพื่อนได้



Cloud Computing


      Cloud Computing คือ การประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยระบบสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนทรัพยากรให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทราบการทำงานเบื้องหลังว่าเป็นอย่างไร เพียงแค่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องสนใจว่าทรัพยากรที่ใช้อยู่นั้นมาจากต่างที่ต่างระบบเครือข่าย ทั้งที่อยู่ใกล้ ๆ หรือไกลออกไป เป็นการใช้ทรัพยากรภายในเครือข่ายขนาดใหญ่ จึงใช้สัญลักษณ์รูปก้อนเมฆแทนที่ตั้งของทรัพยากรคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีไว้ให้บริการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่สามแทน
     Cloud Computing ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นระบบที่พัฒนามาเพื่อแก้ไขจุดอ่อนที่ระบบไอทีปัจจุบันที่ไม่สามารถรองรับโลกยุคของ Web 2.0 และ 3.0 ได้มากพอ มีรูปแบบการประมวลผลแบบใหม่ของคอมพิวเตอร์และพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองรูปแบบการทำงานและใช้งานระบบสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบประมวลผลและโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้งานจำนวนมหาศาลทั่วโลก สามารถเข้าไปใช้งานแหล่งทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกันโดยผ่านโปรแกรมประยุกต์ ซึ่ง Cloud Computing แตกต่างจากการประมวลผลของระบบ Cluster Computing และ Grid Computing
ประโยชน์ของ Cloud Computing กับธุรกิจในปัจจุบัน
    1. ทรัพยากรไอทีถูกใช้อย่างคุ้มค่า
     เนื่องจากเป็นการแบ่งปัน (Share) ทรัพยากรทั้งส่วนจัดเก็บข้อมูล แอพพลิเคชั่น และการประมวลผลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) ดังนั้นผู้ให้บริการจึงสามารถนำเสนอบริการแอพพลิเคชั่นในราคาที่ต่ำ กว่ากรณีที่ผู้ใช้จะลงทุนติดตั้งแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้งาน
2. ผู้ใช้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น
โดยอัตราค่าบริการด้านไอทีผ่านสภาพแวดล้อมกลุ่มเมฆ จะต่ำกว่าการลงทุนติดตั้งระบบไอทีเองทั้งหมด จึงมีโอกาสที่จะเข้าถึงเทคโนโลยีที่หลากหลาย ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้มากกว่าในสภาพแวดล้อมแบบเดิม ทั้งนี้ในกรณีที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ผู้ให้บริการมีความยืดหยุ่นที่จะนำเทคโนโลยีใหม่มาให้บริการบนสถาปัตยกรรม SOA (Service-oriented architecture)




3. ผู้พัฒนาเทคโนโลยีไอทีมีโอกาสให้นำผลงานออกสู่ตลาดได้มากขึ้น
บนสถาปัตยกรรมที่แยกเซิร์ฟเวอร์ในส่วนของแอพพลิเคชั่น ทำให้แอพพลิเคชั่นบนเครือข่ายมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนบนเครือข่าย ผู้ให้บริการจะกำหนดแพลทฟอร์มของแอพพลิเคชั่นบนกลุ่มเมฆของตน เช่นแพลทฟอร์มสำหรับ Google App Engine เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสามารถนำผลงานไปให้บริการบนกลุ่มเมฆ โดยการเพิ่มบริการแอพพลิเคชั่นจะไม่กระทบในส่วนของผู้ใช้
4. ผู้ให้บริการสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริการถูกนำเสนอบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้น ผู้ให้บริการสามารถติดตั้งอุปกรณ์ในทำเลที่ตั้งที่ห่างไกลซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการตั้งกิจการในย่านธุรกิจ แต่สามารถนำเสนอบริการให้แก่ลูกค้าได้ทั่วโลก อีกทั้งหน่วยจัดเก็บข้อมูล ส่วนประมวลผล และแอพพลิเคชั่น ถูกแยกออกจากส่วนผู้ใช้ ดังนั้นผู้ให้บริการจึงสามารถดูแลรักษาระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เทคโนโลยี Cloud Computing ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวางมากขึ้น ประโยชน์ของ Cloud Computing มีอยู่หลายด้านที่โดดเด่นก็คือ เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ใน “เชิงธุรกิจ” อย่างแพร่หลายซึ่งไม่จำเป็นต้องลงทุนสูง อีกทั้งยังสามารถสร้างความปลอดภัยของระบบไอทีให้กับหน่วยงานและผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี Cloud Computing จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงระบบไอทีในอนาคต ด้วยแนวโน้มและเหตุผลหลักดังนี้







  • แนวโน้มที่สังคมออนไลน์มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันการเพิ่มจำนวนประชากรบนสังคม Online Social Network มีจำนวนสูงขึ้น โดยผู้ใช้หลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก Social Network ที่เรารู้จักกันดี เช่น Twitter, Hi5, Myspace, Facebook เป็นต้น ทำให้เริ่มมีการนำเว็บแอพพลิเคชั่นรูปแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยผ่านเทคโนโลยี Cloud Computing โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปบริหารจัดการและวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้งานเพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจ หรือ ต่อยอดให้กับธุรกิจ ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้มีความต้องการใช้มากยิ่งขึ้น เพื่อใข้ในการประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยดึงประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีอยู่มาใช้งานได้อีกด้วย
  • รูปแบบการประมวลผลรูแบบใหม่ในการลดภาวะโลกร้อน
ปัญหาโลกร้อนและค่าใช้จ่ายของพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึง สถาบันการศึกษา ให้ความสำคัญต่อการลดพลังงานและโลกร้อน ประโยชน์ของ Cloud computing ในด้านนี้คือ ช่วยลดการใช้พลังงานในการประมวลผลในระบบไอทีได้ หรือนำพลังประมวลผลส่วนเกินที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานภายในระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ช่วยให้เป็นการประหยัดพลังงาน
  • ความต้องการสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ของหน่วยงานภาคเอกชน
ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจค่อนข้างรุนแรง องค์กรหลายแห่งต่างให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่และนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแตกต่างขององค์กร แนวโน้มการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรมดังกล่าว ถือเป็นการกระตุ้นให้มีการนำระบบ Cloud Computing ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • ความต้องการใช้งานซอฟท์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความสลับซับซ้อนสำหรับผู้ใช้งาน ผู้ให้บริการทางด้านไอทีจึงพัฒนาเทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อนำเสนอบริการทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจองค์กรขนาดกลางหรือขนาดย่อม (SME) นอกจากเป็นการนำไอทีไปใช้งานทำได้ง่ายยิ่งขึ้น องค์กรนั้น ๆ ก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยอยู่เสมอ ลดความยุ่งยากและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการในส่วนของบำรุงรักษาและพัฒนาเวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย
  • ความต้องการจัดระเบียบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ
ปัจจุบัน Search engine ช่วยให้เราสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้สะดวกและรวดเร็วกว่าในอดีต การหาข้อมูลต่าง ๆ ทำได้ง่ายขึ้น แต่เนื่องจากปัจจุบันปริมาณข้อมูลในเว็บที่เพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น file ประเภทต่างๆ มีการ Upload และ Download จากผู้ใช้งานทั่วโลกเป็นจำนนมาก จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาประสิทธิภาพในการจับเก็บข้อมูลดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของการประมวลผลแบบ Cloud Computing นั้น คือความสามารถจัดระเบียบของจำนวนข้อมูลให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลหลากหลายประเภท ซึ่งช่วยให้การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ทำได้เร็วและถูกต้องแม่นยำ กว่าเดิม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น